เมี่ยงคำ คืออะไร
ประวัติเมี่ยงคำ เมี่ยงคำเป็นของทานเล่นประจำชาติที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน เชื่อกันว่า เมี่ยงคำมีจุดกำเนิดอยู่ที่ภาคเหนือ (อาณาจักรล้านนา) เพราะเป็นถิ่นของวัฒนธรรมอาหาร เรียกได้ว่าเป็นอาหารสำหรับชาววังโดยเฉพาะ คำว่า ‘เมี่ยง’ หมายถึง การห่ออาหาร (ให้พอดีคำ) ด้วยใบ และ ‘คำ’ หมายถึง การกินให้พอดีคำ ฉะนั้น พอรวมกันจะมีความหมายว่า อาหารที่ห่อด้วยใบ(ชะพลู)ที่กินได้พอดีคำ ถึงแม้ถิ่นกำเนิดของเมี่ยงคำจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เมี่ยงคำอยู่คู่กับคนไทยมาหลายศตวรรษ แต่ก็มีความเชื่อว่า เมี่ยงคำประยุกต์มาจากการเคี้ยวหมาก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง ส่วนประกอบของเมี่ยงคำ โดยปกติแล้ว เมี่ยงคำจะใช้วัตถุดิบหลายชนิด ที่ถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปวางรวมกันบนใบชะพลู โดยวัตถุดิบประกอบไปด้วย มะพร้าวคั่ว ขิง มะนาว หัวหอม ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง ใบชะพลู (และน้ำเมี่ยงสูตรพิเศษของแต่ละคน) ทั้งนี้ เมื่อกินเข้าด้วยกัน จะทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อม หอม หวาน และเต็มไปด้วยสมุนไพรนานาชนิด สรรพคุณดีๆ ของแต่ละวัตถุดิบ มะพร้าวคั่ว บำรุงไขข้อ ถั่วลิสงคั่ว บำรุงเส้นเอ็น ใบชะพลู ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี หอมแดง แก้หวัด พริก แก้จุกเสียด […]
เมี่ยงคำ คืออะไร อ่านเพิ่มเติม »